วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

แบบทดสอบความรู้เรื่องมาตราการป้องกันระบบเครือข่าย

1.Hackerคืออะไร
ก.คนขโมยข้อมูล
ข.คนวางระบบ
ค. คนต่อสัญญาณ
ง.คนที่มีความรอบรู้คอมอย่างมาก
2.Crackerคืออะไร
ก.คนทำลายข้อมูล
ข.คนขโมยข้อมูล
ค. คนต่อสัญญาณ
ง.คนวางระบบ
3.Phisherคืออะไร
ก.คนที่ถูกขโมยมูล
ข.คนต่อสัญญาณ
ค. คนวางระบบ
ง.คนทำลายข้อมูล
4.wormคืออะไร
ก. หนอน
ข. หนอนผีเสื้อ
ค. หนอนคอมพิวเตอร์
ง. ไวรัสขโมยข้อมูล
5.ข้อใดไม่ใช่ประเภทของไวรัส
.ไวรัสประเภทมาโคร
.ไวรัสประเภทซ่อนตัวอยู่ในบุ๊กเซกเตอร์
.ม้าโทรจัน
.ทุกข้อเป็นประเภทไวรัส
6.ไวรัสในข้อใดถูกออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลในเครื่อง และส่งกลับไปทางเครือข่าย
.ไวรัสประเภทมาโคร
.ไวรัสประเภทซ่อนตัวอยู่ในบุ๊กเซกเตอร์
.ม้าโทรจัน
.ทุกข้อเป็นประเภทไวรัส
7.ถ้าเราไปไวรัสในเครื่องคอมพิวเตอร์เราควรทำอย่างไร
.ลบไวรัสตัวนั้นทิ้ง
.ลงเครื่องใหม่
.ลบทั้งไดร์นั้นทิ้ง
.เปลี่ยนเครื่องใหม่
8.ข้อใดเป็นโปรแกรมสำหรับจัดการสายแวร์
.โปรแกรม Microsoft Anti-Spyware
.โปรแกรม SpyBot
.โปรแกรม AdAware
.ทุกข้อเป็นโปรแกรมใช้ตรวจจับสปายแวร์
9.ความหมายของ Adware คือข้อใด
.ไวรัสประเภทหนึ่ง
.มักติดกับไฟล์ข้อมูลประเภทWord และ Excel
.เกี่ยวกับ  pop-up โฆษณาที่มักแสดงขึ้นมาระหว่างใช้งาน
.ไม่มีข้อใดถูก
10.หากลบไฟล์ข้อมูลโดยบังเอิญ เราสามารถกู้ได้ที่ไหน
. เข้าไปที่ไฟล์ Recycle Bin จะพบไฟล์ที่เราลบไป
.เลือกคำสั่ง Edit>Undo Delete หลังเพิ่งลบไฟล์ไป
..ใช้โปรแกรมกู้ไฟล์กลับมา

.ถูกทุกข้อ



เฉลย
1.ก.คนขโมยข้อมูล
2.ก.คนทำลายข้อมูล
3.ก.คนที่ถูกขโมยมูล
4.ค. หนอนคอมพิวเตอร์
5.ค.ม้าโทรจัน
6.ค.ม้าโทรจัน
7.ก.ลบไวรัสตัวนั้นทิ้ง
8.ง.ทุกข้อเป็นโปรแกรมใช้ตรวจจับสปายแวร์
9.ค.เกี่ยวกับ  pop-up โฆษณาที่มักแสดงขึ้นมาระหว่างใช้งาน
10.กเข้าไปที่ไฟล์ Recycle Bin จะพบไฟล์ที่เราลบไป

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

แบบทดสอบความรู้

1. UNIX เป็นระบบปฏิบัติการเริ่มใช้เมื่อปีใด 
ก.1986
ข.1969
ค.1975
ง.1864
2.ลินุกซ์ รู้จักกันอีกชื่อคือ
ก.กนู
ข.นรู
ค.ปูน
ง.จูน
3.Windows XP Professional เป็นรากฐานความแข่งแกร่งมาจากwindows อะไร
ก.Windows vista
ข.Windows 95
ค.Windows 2000
ง.Windows 98
4.ios คืออะไร
 4. วินโดวส์95 ต่างจากวินโดวส์98 อย่างไร
ก.) ติดต่อกับผู้ใช้ด้วยระบบ GUI
ข.) 
ต้องสั่งงานโดยใช้เมาส์
ค.) 
ใช้ทรัพยากรมากกว่า DOS
ง.) 
ซอฟต์แวร์สนับสนุน
5. ระบบปฏิบัติการใดน่าจะมีความเหมาะสมในยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 2547) มากที่สุด
ก.) 
DOS
ข.) 
Windows98
ค.)
 WindowsXP
ง.) 
Windows95
6.ระบบปฏิบัติการที่เหมาะกับคอมพิวเตอร์เมนเฟรมและการติดต่อสื่อสารระยะไกลคือข้อใด
ก.) 
WindowsXP
ข.) 
Unix
ค.) 
WindowsCE
ง.) 
Mac
7. ระบบปฏิบัติการประเภท Open Source คือข้อใด
ก.) 
WindowsXP
ข.) 
Unix
ค.) 
Linux
ง.) Mac
8. ระบบปฏิบัติการใดเหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ SUN
ก.) 
Solaris
ข.) 
Firmware
ค.) 
Windows CE
ง.) 
Mac
9. ระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์แบบพกพาคือข้อใด
ก.) 
Solaris
ข.) 
Firmware
ค.) 
Windows CE
ง.) 
Mac
10. ระบบปฏิบัติการที่ถูกบรรจุในหน่วยความจะรอมคือข้อใด
ก.) 
Solaris
ข.) 
Firmware
ค.) 
Windows CE
ง.) 
Mac




เฉลย
1.ข.1969
2.ก.กนู
3.ค.Windows 2000
4.ง.ซอฟต์แวร์สนับสนุน
5.ค.Windows XP
6.ข.Unix
7.ค.Linux
8.ก.Solaris
9.ค.Windows CE
10.ข.Firmware

มาตรการป้องกันระบบเครือข่าย

มาตรการป้องกันระบบเครือข่าย
จัดการปัญหาจากภายในและภายนอก

โดย นายมงคล อัศวโกวิทกรณ์
ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีขั้นสูง
บริษัทซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด
คุณจะทำอย่างไรถ้าวันหนึ่งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเดินมาเคาะประตูบริษัทของคุณ และแจ้งข้อหาต่อ่คุณว่า "ให้ความช่วยเหลือในการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์" ซึ่งเบื้องหลังสิ่งที่เกิดขึ้นนี้คือ การที่มีใครบางคนแอบติดต่อสื่อสารระยะไกลเข้ามาในเซิร์ฟเวอร์ของคุณและใช้เซิร์ฟเวอร์ของคุณเป็นฐานปฏิบัติการในการเจาะระบบเพื่อก่ออาชญากรรมต่างๆ
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็คือ คุณปล่อยให้อาชญากรทางคอมพิวเตอร์ทำงานได้โดยสะดวก เพราะคุณไม่ได้ล็อกประตูระบบเครือข่ายของตัวเอง

อันตรายที่พอกพูน

ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด แพราะอาชญากรในโลกไซเบอร์จะเริ่มต้นจากการเจาะระบบของระบบขนาดกลางและย่อมที่มีระบบรักษาความปลอดภัยประสิทธิภาพต่ำ และใช้เป็นฐานในการก่ออาชญากรรมขั้นร้ายแรงต่อไป เช่น การโจมกรรมข้อมูลด้านอุตสาหกรรมและพาณิชย์ การฉ้อโกงทางการเงิน เป็นต้น บริษัทของคุณอาจตกเป็นเหยื่อของอาชญากรไซเบอร์เหล่านี้ได้ หากขาดความเอาใจใส่เรื่องการรักษาความปลอดภัยของระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีขององค์กร และให้ความรู้แก่พนักงานไม่เพียงพอ รวมถึงขาดการบังคับใช้นโยบายรักษาความปลอดภัยที่ดี

การจัดการความเสี่ยงจากภายนอก

ตัวอย่างความเสี่ยงจากภายนอกเช่น ไวรัส เวิร์ม สแปม สปายแวร์ และแอพลิเคชั่นที่เข้ามาโจมตีระบบเพื่อทำให้ระบบปฎิเสธการให้บริการ การโจมตีเซิร์ฟเวอร์ หรือการบุกรุกอื่นๆ
วิธีการที่จะรับมือภัยคุกคามจากภายนอกนี้จำเป็นต้องมีระบบป้องกันพื้นฐานอย่าง ไฟร์วอลล์ ระบบป้องกันไวรัส และระบบบริหารการติดตั้งโปรแกรมซ่อมแซม เป็นต้น
  • ระบบป้องกันไวรัส - ควรติดตั้งระบบป้องกันไวรัสทั้งในเครื่องพีซี โน้ตบุ๊ก และเซิร์ฟเวอร์ มิเช่นนั้นโน้ตบุ๊กที่ติดไวรัสมาจากข้างนอกอาจนำไวรัสมาแพร่ระบาดในเซิร์ฟเวอร์และเครือข่ายได้ นอกจากนี้ต้องทำการอัพเดทระบบป้องกันไวรัสอยู่เป็นประจำ และต้องสแกนไวรัสในเครื่องคอมพิวเตอร์ของสำนักงานเป็นประจำด้วย ที่สำคัญควรต้องปรับแต่ระบบป้องกันไวรัสให้คอยตรวจสอบเมล์ที่ดาวน์โหลดมาว่า มีซอฟต์แวร์ไม่พึงประสงค์ติดมากับไฟล์แนบหรือไม่่
  • ระบบบริหารการติดตั้งโปรแกรมซ่อมแซม – ระบบปฏิบัติการ หรือซอฟต์แวร์ที่ออกมานานแล้วมักจะพบว่ามีบั๊ก (Bug) ซึ่งอาจกลายเป็นช่องโหว่ให้แฮกเกอร์เจาะเข้ามาโจมตีระบบได้ จึงจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมซ่อมแซมและอัพเดทอัตโนมัติ และจะต้องไม่ปล่อยให้ผู้ใช้ปิดการทำงานของโปรแกรมเหล่านี้
  • ไฟร์วอลล์ - ไฟร์วอลล์จะช่วยแยกแยะและจัดการกับผู้บุกรุกได้ และควรติดตั้งไฟร์วอลล์ส่วนตัวในโน้ตบุ๊ก เพื่อป้องกันไม่ให้โน้ตบุ๊กอัพโหลดข้อมูลโดยไม่ตั้งใจจากคอมพิวเตอร์ไปสู่อินเทอร์เน็ต หรือติดซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย
  • การปรับแต่งตัวแปรระบบเครือข่าย - เปลี่ยนช่วงค่าไอพีปกติของเครือข่าย และตรวจดูพอร์ตการใช้งาน ปิดพอร์ตที่ไม่ได้ใช้ รวมถึงลบทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันผ่านเครือข่ายที่ไม่จำเป็น
  • การปรับแต่งตัวแปรระบบเครือข่าย - เปลี่ยนช่วงค่าไอพีปกติของเครือข่าย และตรวจดูพอร์ตการใช้งาน ปิดพอร์ตที่ไม่ได้ใช้ รวมถึงลบทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันผ่านเครือข่ายที่ไม่จำเป็น
  • ไฟล์ดาวน์โหลด - ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานดาวน์โหลดไฟล์มาจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้เท่านั้น หรือให้สิทธิ์ผู้ใช้ที่เชื่อใจได้ แต่ต้งตรวจสอบให้มั่นใจว่าผู้ที่ได้รับสิทธิ์นี้ได้ศึกษาวิธีดาวน์โหลไฟล์อย่างปลอดภัยมาแล้ว

การจัดการความเสี่ยงจากภายใน

มีข้อมูลทางสถิติระบุว่า 80% ของอาชญากรรมไอที เกิดจากคนภายในบริษัทเอง เช่น พนักงานที่ไม่พอใจองค์กร พนักงานที่เพิ่งถูกเลิกจ้าง ผู้รับเหมาติดตั้งระบบ หรือผู้ให้บริการ คนภายในเหล่านี้มีความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายของบริษัท จึงมีโอกาสที่จะก่อให้เกิดอันตรายได้มากกว่าบุคคลภายนอกที่ไม่คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมแบบนี้ การโจมตีนี้มีได้ตั้งแต่ การแอบดูไฟล์ ลบข้อมูลที่มีค่า เปลี่ยนแปลงรายการในฐานข้อมูล เป็นต้น ขึ้นอยู่กับเจตนาและทักษะของผู้กระทำ
การป้องกันไม่ให้เกิดเหตุดังกล่าวทำได้ง่ายๆ โดยใช้เทคนิคดังต่อไปนี้
  • รหัสผ่าน - ยืนกรานให้พนักงานใช้รหัสผ่านที่มีความแข็งแกร่งและซับซ้อนเพียงพอ และตรวจสอบให้มั่นใจว่าพนักงานจะเก็บรหัสผ่านนี้ไว้เป็นความลับ รวมถึงนเอานโยบายรหัสผ่านที่ดีมาใช้ เพื่อให้แน่ใจว่า รหัสผ่านจะหมดอายุเมื่อผ่านไประยะหนึ่งและห้ามผู้ใช้ใช้รหัสผ่านเดิมซ้ำอีก นอกจากนั้นยังควรติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบการล็อกอิน ไม่ให้ผู้ใช้เข้าใช้งานระบบหลังจากล็อกอินผิดครบจำนวนครั้งที่กำหนด
  • ระดับการให้สิทธิ์ - ใช้ซอฟต์แวร์เพื่อเข้ารหัสข้อมูลที่สำคัญของบริษัท เช่น รายงานต่างๆ โดยใช้คุณสมบัติการเข้ารหัสที่มีอยู่ในแอพลิเคชั่นต่างๆ ให้เป็นประโยชน์ และควรใช้ลายเซ็นดิจิตอลหรือเทคนิกการเข้ารหัสข้อมูลกับอีเมล์สำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้รับที่ระบุชื่อเอาไว้เท่านั้นจึงจะเปิดอ่านได้
  • ใช้ระบบตรวจสอบสิทธิ์ที่ปลอดภัย - เช่น ระบบตรวจสอบสิทธิ์ในรูปของกุญแจอย่างสมาร์ทการ์ด หรือยูเอสบี รวมทั้งอุปกรณ์ไบโอเมทริกซ์ต่างๆ เมื่อใช้ร่วมกับรหัสผ่านที่แข็งแกร่งจะช่วยให้ระบบมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นอย่างมาก
  • ระบบควบคุมการเข้าถึงทรัพยากร - จัดเก็บอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่าง เซิร์ฟเวอร์ เราเตอร์ อุปกรณ์สำรองข้อมูล และอุปกรณ์อื่นๆ ในที่ที่มีการป้องกัน เช่น ตู้ที่มีกุญแจล็อก หรือห้องที่แยกต่างหาก เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องหรือบุคคลภายนอกเข้าถึงได้ นอกจากนี้เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานดาวน์โหลดข้อมูลวิจัย รายชื่อลูกค้า ข้อมูลบัตรเครดิตลูกค้า หรือข้อมูลสำคัญอื่นๆ ไปเก็บในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอย่างแฟลชไดร์ฟยูเอสบี โทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องเล่นเอ็มพี 3 อาจจำเป็นต้องปิดการทำงานของพอร์ตยูเอสบีในเครื่องพีซีด้วย โดยแก้ไขที่ไบออสของเครื่องหรือใช้ยูทิลิตี้อย่าง Drive lock ก็ได้ หรืออาจพิจารณาถึงการล็อกตัวถังเครื่องพีซีด้วยก็เป็นได้
  • ระบบบริหารแอพลิเคชั่น - จัดการลบซอฟต์แวร์ ยูทิลิตี้ และแอพลิเคชั่นที่ไม่ต้องการทิ้งไป และห้ามการใช้ซอฟต์แวร์สื่อสารแบบจุดต่อจุด และระบบรับส่งข่าวสารฉับพลัน เพราะซอฟต์แวร์ดังกล่าวสามารถหลบการทำงานของซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยที่มีอยู่ แล้วทำการดาวน์โหลดและอัพโหลดข้อมูลได้ รวมทั้งห้ามไม่ให้พนักงานเข้าเว็บไซต์บางแห่ง เนื่องจากพนักงานอาจจะส่งอีเมล์หรือโอนถ่ายข้อมูลสำคัญของบริษัทออกไปได้
  • การกู้ระบบจากภัยพิบัติ - ทำการสำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถกลับมาทำธุรกิจได้อย่างรวดเร็วในกรณีที่อานมีความเสียหายบเกิดขึ้นกับบริษัท

ล็อกประตูให้มั่นคง

องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบรักษาความปลอดภัย คือแผนการรักษาความปลอดภัยที่ให้ความรู้แก่ทุกคนที่อยู่ในบริษัท เกี่ยวกับขั้นตอน เทคโนโลยี และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับช่องโหว่ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีขององค์กร ไม่ว่าองค์กรจะติดตั้งเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยไว้มากแค่ไหนก็ตาม ก็จะไม่มีความปลอดภัยจนกว่าจะได้รับการสนับสนุนจากพนักงาน องค์กรต้องจัดทำคู่มือนโยบายรักษาความปลอดภัย และแจ้งให้พนักงานทราบถึงความคาดหวังขององค์กร ที่สำคัญคือต้องเอาจริงเอาจังในการปฏิบัติ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบเครือข่ายขององค์กรจะมีความปลอดภัยอย่างที่ควรจะเป็น

ประวัติ ios

ประวัติและที่มาของ iOS

iOS (ก่อนหน้าiPhone OS ) เป็นระบบปฏิบัติการมือถือที่พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยบริษัท Apple Incออกจำหน่ายในปี 2007 สำหรับiPhoneและiPod Touch ของมันได้รับการขยายเพื่อรองรับอุปกรณ์ที่แอปเปิ้ลอื่น ๆ เช่นiPadและโทรทัศน์แอปเปิ้ล
ซึ่งแตกต่างจากไมโครซอฟท์ 's Windows CE (Windows โทรศัพท์ ) และGoogle 's Android , แอปเปิ้ลไม่ได้ใบอนุญาตสำหรับการติดตั้ง iOS บนฮาร์ดแวร์ที่ไม่ใช่แอปเปิ้ล ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2012 , แอปเปิ้ลที่ App Storeมีมากกว่า 650,000 โปรแกรม iOS ซึ่งได้รับการเรียกรวมดาวน์โหลดมากกว่า 30 ล้านครั้ง มันมีส่วนแบ่ง 16% จากมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการหน่วยที่ขายในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2010 หลังทั้งสองของ Google 's AndroidและNokia 's Symbian ในเดือนพฤษภาคม 2010 ในประเทศสหรัฐอเมริกาก็คิดเป็น 59% ของการใช้โทรศัพท์มือถือบนเว็บของข้อมูล(รวมถึงการใช้ทั้งบนไอพอดทัชและไอแพด )
ส่วนติดต่อผู้ใช้ของ iOS ขึ้นอยู่กับแนวคิดของการจัดการตรงโดยใช้ท่าทางสัมผัสหลาย . องค์ประกอบการควบคุมการเชื่อมต่อประกอบด้วยเลื่อนสวิตช์และปุ่ม เพื่อตอบสนองผู้ใช้ป้อนเป็นได้ทันทีและให้อินเตอร์เฟซของเหลว ปฏิสัมพันธ์กับระบบปฏิบัติการรวมถึงท่าทางเช่นรูด , แตะ , หยิกและหยิกย้อนกลับซึ่งทั้งหมดนี้มีความหมายเฉพาะในบริบทของระบบปฏิบัติการ iOS และอินเตอร์เฟซแบบมัลติทัชของมัน ภายในaccelerometersถูกนำมาใช้โดยการใช้งานบางอย่างเพื่อตอบสนองต่อการสั่นของอุปกรณ์ (หนึ่งผลเหมือนกันคือคำสั่ง undo) หรือหมุนมันในสามมิติ (หนึ่งผลร่วมกันคือการเปลี่ยนจากแนวตั้งเป็นโหมดแนวนอน)
iOS มาจากOS Xกับที่มันหุ้นดาร์วินรากฐานและดังนั้นจึงเป็นUnixระบบปฏิบัติการ
ใน Ios, มีสี่เป็นชั้น abstractionหลักของระบบปฏิบัติการชั้น: Core Servicesชั้นชั้น Media, และโกโก้ Touchชั้น รุ่นปัจจุบันของระบบปฏิบัติการ (IOS 5.1.1) อุทิศ 1-1.5 GB ของหน่วยความจำแฟลชของอุปกรณ์สำหรับพาร์ติชันระบบที่ใช้ประมาณ 800 MB ของพาร์ติชันที่ (ที่แตกต่างกันไปตามรุ่น) สำหรับ iOS ตัวเอง



ระบบปฏิบัติการได้เปิดตัวกับiPhoneที่Macworld Conference & Expo , 9 มกราคม 2007 และเปิดตัวในเดือนมิถุนายนของปีที่ในตอนแรกแอปเปิ้ลวรรณกรรมการตลาดไม่ได้ระบุชื่อแยกต่างหากสำหรับระบบปฏิบัติการที่ระบุเพียง ที่ "iPhone รัน OS X" ในขั้นต้นการใช้งานของบุคคลที่สามไม่ได้รับการสนับสนุน สตีฟจ็อบส์เป็นที่ถกเถียงกันว่านักพัฒนาสามารถสร้างโปรแกรมประยุกต์บนเว็บว่า "จะทำตัวเหมือนปพลิเคชันบน iPhone พื้นเมือง" ที่ 17 ตุลาคม 2007, แอปเปิ้ลประกาศว่าซอฟท์แว Kit พื้นเมืองพัฒนา (SDK) อยู่ภายใต้การพัฒนาและการที่พวกเขา วางแผนที่จะนำมัน "อยู่ในมือนักพัฒนา 'ในเดือนกุมภาพันธ์" ที่ 6 มีนาคม 2008, แอปเปิ้ลปล่อยออกมาก่อนเบต้าพร้อมกับชื่อใหม่สำหรับระบบปฏิบัติการ: "iPhone OS"

แอปเปิ้ลได้เปิดตัว iPod touch, ซึ่งมีมากที่สุดของความสามารถที่ไม่ใช่โทรศัพท์ของ iPhone แอปเปิ้ลยังขายได้มากกว่าหนึ่งล้าน iPhones ในช่วงเทศกาลวันหยุด 2007 ที่ 27 มกราคม 2010, แอปเปิ้ลประกาศ iPad, featuring หน้าจอขนาดใหญ่กว่า iPhone และ iPod touch และได้รับการออกแบบสำหรับการท่องเว็บการบริโภคสื่อและการอ่านiBooks .
ในเดือนมิถุนายน 2010, OS iPhone ของ Apple แบรนเป็น "iOS" เครื่องหมายการค้า "IOS" ได้ถูกใช้โดยซิสโก้มานานกว่าทศวรรษสำหรับระบบปฏิบัติการของIOSที่ใช้ในเราเตอร์ของมัน เพื่อหลีกเลี่ยงการใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นคดี, แอปเปิ้ลได้รับใบอนุญาต "IOS" เครื่องหมายการค้าจากซิสโก้


ประวัติ Unix

 UNIX เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เริ่มต้นใน Bell Labs เมื่อปี 1969 ในฐานะระบบ Interactive time -sharing ซึ่ง Ken Thompson และ Demiss Ritchie ได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้คิดค้น UNIX ในปี 1974 Unix เป็นระบบปฏิบัติการแรกที่เขียนด้วยภาษา C และเป็น freeware ซึ่งมีส่วนขยายและความคิดใหม่ในเวอร์ชันที่หลากหลาย จากบริษัทต่าง ๆ มหาวิทยาลัยและเอกชนทำให้ Unix กลายเป็นระบบเปิด หรือระบบปฏิบัติการมาตรฐานแรกที่ให้บุคคลทั่วไปสามารถปรับปรุงได้ ส่วนประกอบของภาษา C และ shell interface ของ UNIX อยู่ภายใต้มาตรฐาน Portable Operating System Interface ซึ่งอุปถัมภ์โดย Instituted of Electrical and Electronics Engineering ในส่วนอินเตอร์เฟซของ POSIX ได้มีการระบุ X/Open Programming Guide 4.2 (รู้จักกันในชื่อ "Single UNIX Specification" และ UNIX 95") เวอร์ชัน 2 ของ Single UNIX Specification เรียกว่า UNIX 98

       ระบบปฏิบัติการ UNIX มีการใช้อย่างกว้างขวางในผลิตภัณฑ์ เวิร์กสเตชั่น ของ Sun Microsystems, Silicon Graphics, IBM และบริษัทอื่น ๆ สภาพแวดล้อมของ UNIX และแบบจำลองโปรแกรม Client/Server เป็นส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาอินเตอร์เน็ต และเปลี่ยนการประมวลผลแบบศูนย์กลางในเครือข่ายมากกว่าคอมพิวเตอร์อิสระ Linux เป็นอนุพันธ์ของ UNIX ที่มีทั้งเวอร์ชันฟรีและพาณิชย์ กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในฐานะตัวเลือกของระบบปฏิบัติการ

     Unix เป็นชื่อของระบบปฏิบัติการ (Operating System) อีกแบบหนึ่งซึ่งต่างออกไปจากระบบปฏิบัติการที่เราคุ้นเคยกันดี เช่น Windowsหรือ Dos ระบบปฏิบัติการ Unix ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ในช่วงปี 1970 โดยมีรากฐานมาจากภาษา C โดยบริษัท AT&T เป็นผู้เริ่มต้นในการพัฒนาระบบปฏิบัติการนี้จุดเด่นของ Unix ที่แตกต่างจาก Windows นั้นมีหลายประการ หากมองจากการใช้งานก็จะพบว่าแตกต่างกันอย่างชัดเจน เนื่องจาก Unix เป็นระบบปฏิบัติงานที่ใช้การพิมพ์คำสั่ง (Command Line) ส่วน Windows เป็นลักษณะ GUI (Graphic User Interface) ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ให้ใช้งานง่าย เนื่องจากใช้รูปภาพเป็นสื่อ ทำให้ Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานยากกว่า Windows เนื่องจากต้องจดจำคำสั่ง(ซึ่งมีมากพอสมควร)ให้ได้ นอกจากนี้ Unix ยังเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความแตกต่างกันในเรื่องอักษรตัวเล็กและตัวใหญ่ ทำให้มักเกิดความสับสนสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ค่อยคุ้นเคย แต่ Unix ก็มีจุดเด่นที่เหนือกว่า Windows ในแง่ของประสิทธิภาพในการทำงาน โดยในระดับ Hardware ชุดเดียวกันระบบ Unix จะมีประสิทธิภาพที่สูงกว่า นอกจากนี้ยังมีเสถียรภาพในการทำงานที่เหนือกว่า Windows ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเทียบกับ Windows ในตระกูล 9 x เช่น Windows95, 98, Me แล้ว Unix จะมีเสถียรภาพในการทำงานที่เหนือกว่าชนิดเทียบกันไม่ได้เลย
       คุณสมบัติที่ค่อนข้างโดดเด่นของ Unix นั้นได้แก่
มัลติทาสกิ้ง (Multi-tasking) คือ ทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการรอ โดยแบ่งการทำงานออกเป็น Foreground และ Background
มัลติยูสเซอร์ (Multi-user) Unix สามารถรองรับผู้ใช้ได้มากกว่า 1 คนในเวลาเดียวกัน หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ใช้งานได้หลายคนพร้อมกันนั่นเอง
จากจุดเด่นนี้ทำให้พบว่าในปัจจุบันเรานิยมใช้ Unix เป็นระบบปฏิบัติการของเครื่อง Internet Server กันมาก
โครงสร้างในการทำงานของ Unix
Unix แบ่งโครงสร้างออกเป็น 4 ส่วนหลักนั่นคือ Application Program, Shell, Unix Kernel, Hardware โดยเราจะทำงานอยู่ในระดับนอกสุดคือ ระดับ Application Program จากนั้น Unix จะทำงานเป็นลำดับชั้นผ่าน Shell , Kernel และ Hardware ตามลำดับ
- Shell ทำหน้าที่เป็นเสมือนตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับ Kernel โดยทำหน้าที่รับคำสั่งจากผู้ใช้ทางอุปกรณ์ input เช่น คีย์บอร์ด แล้วทำการแปลเป็นภาษาให้เครื่องเข้าใจ หรือเรียกว่า command interpreter และยังสามารถนำคำสั่งเหล่านี้มารวมกันในลักษณะของโปรแกรมที่เรียกว่าเชลล์สคริปต์ (Shell script) ได้ด้วย นอกจากนี้ยังควบคุมทิศทางของ input และ output ว่าจะให้เข้าหรือออกมาทางใด Shell ที่ใช้งานบน Unix มีอยู่ 3 แบบคือ Bourne shell(sh), C shell(csh), Korn shell(ksh) (รายละเอียดเพิ่มเติมหาได้จากหนังสือหรือ website ที่เกี่ยวข้องกับ Unix โดยเฉพาะ)
- Unix kernel มีหน้าที่ในการควบคุมระบบทั้งหมด หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นตัวคุม hardware นั่นเอง โดยจะทำหน้าที่ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรทรัพยากร การจัดการหน่วยความจำ เป็นต้น

ประวัติ Linux

ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน
เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และ โนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวิดีโอ
ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft
ผู้เริ่มพัฒนาลินุกซ์ เคอร์เนลเป็นคนแรก คือ ลินุส โตร์วัลดส์ (Linus Torvalds) ชาวฟินแลนด์ เมื่อสมัยที่เขายังเป็นนักศึกษาคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิโดยแรกเริ่ม ริชาร์ด สตอลแมน (Richard Stallman) ได้ก่อตั้งโครงการกนูขึ้นในปี พ.ศ. 2526 จุดมุ่งหมายโครงการกนู คือ ต้องการพัฒนาระบบปฏิบัติการคล้ายยูนิกซ์ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรีทั้งระบบ ราวช่วงพ.ศ. 2533 โครงการกนูมีส่วนโปรแกรมที่จำเป็นสำหรับระบบปฏิบัติการเกือบครบทั้งหมด ได้แก่ คลังโปรแกรม (Libraries) คอมไพเลอร์ (Compiler) โปรแกรมแก้ไขข้อความ(Text Editor) และเปลือกระบบยูนิกซ์(Shell) ซึ่งขาดแต่เพียงเคอร์เนล(Kernel) เท่านั้น ในพ.ศ. 2533 โครงการกนูได้พัฒนาเคอร์เนลชื่อ Hurd เพื่อใช้ในระบบกนูซึ่งในขณะนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับความเร็วในการประมวลผล
ในพ.ศ. 2534 โตร์วัลดส์เริ่มโครงการพัฒนาเคอร์เนล ขณะศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว โดยอาศัย Minix ซึ่งเป็นระบบที่คล้ายกับ Unix ซึ่งมากับหนังสือเรื่องการออกแบบระบบปฏิบัติการ มาเป็นเป็นต้นแบบในการเขียนขึ้นมาใหม่โดย Torvalds เขาพัฒนาโดยใช้ IA-32 assembler และภาษาซี คอมไพล์เป็นไฟล์ไบนารี่และบูทจากแผ่นฟลอปปี้ดิสก์ เขาได้พัฒนามาเรื่อยๆจนกระทั่งสามารถบูทตัวเองได้ (กล่าวคือสามารถคอมไพล์ภายในลินุกซ์ได้เลย) และในปัจจุบันมีนักพัฒนาจากพันกว่าคนทั่วโลกได้เข้ามามีส่วนรวมในการพัฒนาโครงการ Eric S. Raymond ได้ศีกษากระบวนการพัฒนาดังกล่าวและเขียนบทความเรื่อง The Cathedral and the Bazaar
ในรุ่น 0.01 นี้ถือว่ามีเครื่องมือที่เพียงพอสำหรับระบบ POSIX ที่ใช้เรียก ลินุกซ์ ที่รันกับ กนู Bash Shell และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและอย่างรวดเร็ว
โตร์วัลดส์ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาระบบต่อไป ซึ่งต่อมาก็สามารถรันบน X Window System และมีการเลือกนกเพนกวินที่ชื่อ Tux ให้เป็นตัวนำโชคหรือ Mascot ของระบบลินุกซ์

ประวัติของ Windows XP

 Windows XP—ความเสถียร ความพร้อมใช้งาน และความรวดเร็ว

เดสก์ท็อป Windows XP Home Edition
เดสก์ท็อป Windows XP Home Edition
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2544 มีการวางจำหน่าย Windows XP โฉมใหม่ ซึ่งเน้นไปที่ฟังก์ชันที่สามารถใช้งานได้จริงและศูนย์รวมข้อมูลความช่วยเหลือและวิธีใช้แบบครบวงจร โดยสามารถใช้งานได้ใน 25 ภาษา นับแต่ช่วงกลางปี 2513 จนถึงการวางจำหน่าย Windows XP มีพีซีประมาณ 1 พันล้านเครื่องทั่วโลกที่ติดตั้งโปรแกรมนี้
สำหรับ Microsoft ระบบปฏิบัติการ Windows XP กำลังจะกลายเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ขายดีอันดับหนึ่งในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ด้วยความรวดเร็วและความเสถียรของระบบ การเข้าออกเมนู 'เริ่ม' แถบงาน และแผงควบคุมสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น มีการตื่นตัวเรื่องไวรัสคอมพิวเตอร์และแฮกเกอร์มากขึ้น แต่ก็มีการเปิดให้ดาวน์โหลดอัปเดตระบบความปลอดภัยทางออนไลน์ซึ่งช่วยลดความกลัวได้ระดับหนึ่ง ผู้ใช้เริ่มเข้าใจถึงคำเตือนเกี่ยวกับเอกสารแนบที่น่าสงสัยและไวรัส และเริ่มเห็นความสำคัญของบริการช่วยเหลือและวิธีใช้มากขึ้น
กล่อง Windows XP Professional
กล่อง Windows XP Professional
Windows XP Home Edition มีการออกแบบด้านภาพให้ดูสบายตาและเรียบง่าย ทำให้สามารถเข้าถึงคุณลักษณะที่ใช้งานบ่อยได้ง่ายขึ้น Windows XP ที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานภายในบ้านมาพร้อมการปรับปรุงในส่วนต่างๆ เช่น Network Setup Wizard, Windows Media Player, Windows Movie Maker และความสามารถด้านภาพถ่ายดิจิทัลขั้นสูง
Windows XP Professional นำรากฐานที่แข็งแกร่งของ Windows 2000 มาเพิ่มความเสถียร ความปลอดภัย และประสิทธิภาพการทำงานให้กับพีซีเดสก์ท็อป นอกเหนือจากรูปลักษณ์ใหม่แล้ว Windows XP Professional ยังมาพร้อมคุณลักษณะต่างๆ สำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์ในธุรกิจและการใช้คอมพิวเตอร์ขั้นสูงที่บ้าน การสนับสนุนเดสก์ท็อประยะไกล การเข้ารหัสระบบไฟล์ รวมถึงคุณลักษณะการคืนค่าระบบและการเชื่อมต่อเครือข่ายขั้นสูงด้วย การปรับปรุงที่สำคัญสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพา ได้แก่ การสนับสนุนเครือข่ายไร้สาย 802.1x, Windows Messenger และ Remote Assistance

มี Windows XP หลายรุ่นในช่วงปีเหล่านี้
  • Windows XP รุ่น 64 บิต (2001) เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นแรกของ Microsoft สำหรับตัวประมวลผล 64 บิตที่ออกแบบมาสำหรับการทำงานกับหน่วยความจำขนาดใหญ่และโปรเจ็กต์ต่างๆ เช่น ลักษณะพิเศษของภาพยนตร์ ภาพเคลื่อนไหวสามมิติ โปรแกรมทางวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์
  • Windows XP Media Center Edition (2002) เหมาะสำหรับการใช้งานและการให้ความบันเทิงภายในบ้าน คุณสามารถท่องอินเทอร์เน็ต ดูรายการสด เพลิดเพลินกับคอลเลกชันเพลงและวิดีโอดิจิทัล และดูดีวีดีได้
  • Windows XP Tablet PC Edition (2002) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์ที่รับข้อมูลแบบลายมือ แท็บเล็ตพีซีจะมีปากกาดิจิทัลที่ใช้ร่วมกับระบบการจดจำลายมือ นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้เมาส์หรือแป้นพิมพ์ได้ด้วย
เกร็ดน่าสนใจ: Windows XP เกิดจากการคอมไพล์โค้ดจำนวน 45 ล้านบรรทัดเข้าด้วยกัน

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ความหมายของอินเตอร์เน็ต
     อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลกโดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและวุ่นวายจากการเชื่อมต่อจากเครือข่ายทั่วโลก

ที่มา : http://school.obec.go.th/mrPaisan/e-learning/information/content/internet1.htm


อินเทอร์เชื่อมต่อกันอย่างไร
     ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตหลายคน อาจเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยผ่านทางระบบเครือข่ายของสำนักงาน บริษัท หรือ สถานศึกษาของตน ซึ่งตามปกติแล้วหากเป็นหน่วยงาน หรือสำนักงานใหญ่ๆ จะต่อคอมพิวเตอร์เป็นระบบภายในองค์กร (LAN) ซึ่งมักจะเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ (ISP) ผ่านสายนำสัญญาณความเร็วสูง (High-Speed Leased Line) แทนที่จะเชื่อมต่อ ผ่านโมเด็ม (Modem) แต่ถ้าหากว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในวง LAN ที่ไม่โตมากนักก็อาจใช้เชื่อมต่อผ่านโมเด็มก็ได้ เพราะ จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระบบ แต่อาจจะมีปัญหาในเรื่องของความเร็วในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตบ้างเล็กน้อย

ที่มา : http://realdev.truehits.net/tcpip/network.gif


ความหมายของ isp
     isp มาจากคำว่า Internet Service Provider ตามหนังสือศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ 4 ได้ระบุความหมายว่าหมายถึง "ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต" ISPเป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา กับบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น แต่สำหรับ ISPประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย ข้อดีสำหรับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ก็คือ การให้บริการที่มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งรองรับกับความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน มีทั้งรูปแบบส่วนบุคคล ซึ่งจะให้บริการกับประชาชนทั่วไปที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต และบริการในรูปแบบขององค์กร หรือบริษัท ซึ่งให้บริการกับบริษัทห้างร้าน หรือองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการให้พนักงานในองค์กรได้ใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ISP จะเป็นเสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการข้อมูลอะไรก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา
ที่มา : http://www.cs.ssru.ac.th/com04/isp.html
การเชื่อมต่อระหว่าง isp กับผู้ใช้บริการ

ระบบเครือข่ายไร้สาย

ระบบเครือข่ายไร้สาย
ระบบเครือข่ายไร้สาย           ระบบเครือข่ายไร้สาย หรือ ระบบเครือข่ายแบบ Wireless LAN หรือ WLAN  เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายแบบไร้สาย (ไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล) เหมาะสำหรับการติดตั้งในสถานที่ที่ไม่สะดวกในการเดินสาย หรือในสถานที่ที่ต้องการความสวยงาม เรียบร้อย และเป็นระเบียบ เช่น สนามบิน โรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น
หลักการทำงานของระบบ Wireless LAN
          การทำงานจะมีอุปกรณ์ในการส่งสัญญาณ และกระจายสัญญาณ หรือที่เราเรียกว่า Access Point และมี PC Card ที่เป็น LAN card สำหรับในการเชื่อมกับ access point โดยเฉพาะ การทำงานจะใช้คลื่นวิทยุเป็นการรับส่งสัญญาณ โดยมีให้เลือกใช้ตั้งแต่ 2.4 to 2.4897 Ghz และสามารถเลือก config ใน Wireless Lan (ภายในระบบเครือข่าย Wireless Lan ควรเลือกช่องสัญญาณเดียวกัน)
ระยะทางการเชื่อมต่อของระบบ Wireless LAN          ภายในอาคาร 
          1. ระยะ 50 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 11 Mbps 
          2. ระยะ 80 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 5.5 Mbps 
          3. ระยะ 120 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 2 Mbps 
          4. ระยะ 150 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps 
          ภายนอกอาคาร 
          1.ระยะ 250 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 11 Mbps 
          2. ระยะ 350 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 5.5 Mbps 
          3. ระยะ 400 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 2 Mbps 
          4. ระยะ 500 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps
การเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย Wireless LAN มี 2 ลักษณะ ดังนี้
          1. การเชื่อมโยงระบบแบบ Ad-hoc (Peer to Peer) 
          โครงสร้างการเชื่อมโยงระบบแบบ Ad-hoc หรือ Peer to Peer เป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายและอุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป โดยที่ไม่มีศูนย์กลางควบคุมอุปกรณ์ทุกเครื่องสามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้เอง ตัวส่งจะใช้วิธีการแพร่กระจายคลื่นออกไปในทุกทิศทุกทางโดยไม่ทราบจุดหมายปลายทางของตัวรับว่าอยู่ที่ใด ซึ่งตัวรับจะต้องอยู่ในขอบเขตพื้นที่ให้บริการที่คลื่นสามารถเดินทางมาถึงแล้วคอยเช็คข้อมูลว่าใช่ของตน หรือไม่ ด้วยการตรวจสอบค่า Mac Address ผู้รับปลายทางในเฟรมข้อมูลที่แพร่กระจายออกมา ถ้าใช่ข้อมูลของตนก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นไปประมวลผลต่อไป
การเชื่อมโยงเครือข่ายไวร์เลสแลนที่ใช้โครงสร้างการเชื่อมโยงแบบ Ad-hoc ไม่สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบเครือข่ายอีเธอร์เน็ตได้ เนื่องจากบนระบบไม่มีการใช้สัญญาณเลย
          2. การเชื่อมโยงระบบแบบ Infrastructure (Client/Server)
          โครงสร้างการเชื่อมโยงระบบแบบ Infrastructure หรือ Client / Server มีข้อพิเศษกว่าระบบแบบ Ad-hoc ตรงที่มีแอ็กเซสพอยน์เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยง (ทำหน้าที่คล้ายฮับ) และเป็นสะพานเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายอุปกรณ์ไวร์เลสแลนเข้าสู่เคลือข่ายอีเธอร์เน็ตแลนหลัก (Ethernet Backbone) รวมถึงการควบคุมการสื่อสารข้อมูลอุปกรณ์ไวร์เลสแลน 

อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Wireless LAN
          1. แลนการ์ดไร้สาย (Wireless LAN Card)
          ทำหน้าที่ในการ แปลงข้อมูล ดิจิตอล ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นคลื่นวิทยุแล้วส่งผ่านสายอากาศให้กระจายออกไป และทำหน้าที่ในการรับเอาคลื่นวิทยุที่แพร่กระจายแปลงเป็น ข้อมูลดิจิตอล ส่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผล Wireless LAN ที่ผลิตออกมาจำหน่าย มีหลายรูปแบบแบ่งตามลักษณะช่องเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้ดังนี้ 
- แลนการ์ดแบบ PCI 
- แลนการ์ดแบบ PCMCIA 
- แลนการ์ดแบบ USB
- แลนการ์ดแบบ Compact Flash (CF)
          2. อุปกรณ์เข้าใช้งานเครือข่าย (Wireless Access Point)
          ทำหน้าที่เสมือน ฮับ เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายและอุปกรณ์ไวร์เลสแลนแบบต่าง ๆเข้าด้วยกัน อีกทั้งเป็นสะพานเชื่อมต่อ เครื่องไวร์เลสแลนเข้ากับเครื่องอีเธอร์เนตทำให้ระบบทั้งสองสามารถสื่อสารกันได้ 
          3. สะพานเชื่อมโยงไร้สาย (Wireless Bridge)           ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระบบ เครือข่ายอีเธอร์เน็ตแลนตั้งแต่สองระบบขึ้นไปเข้าด้วยกันแทนการใช้สายสัญญาณ ข้อมูลที่สื่อสารระหว่างเครือข่ายอีเธอร์เน็ตจะถูกแปลงเป็นคลื่นวิทยุแล้วถูกแปลงไปยังปลายทาง
          4. Wireless Broadband Router
          ทำหน้าที่ในการต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านคู่สายโทรศัพท์ (ADSL) หรือ เคเบิลทีวี (UBC) ด้วยเทคโนโลยี Broadband Router ซึ่งมีฟังชันการทำงานเป็นตัวค้นหาเส้นทาง, NAT (Network Address Translation) , Firewall , VPN ๆลๆ มาผสมผสานเข้ากับ Access Point ทำให้ผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายสามารถสื่อสารข้อมูลไปยังระบบอินเทอร์เน็ต
          5. Wireless Print Server           อุปกรณ์การแชร์เครื่องพิมพ์บนระบบเครือข่าย Wireless LAN
          6. Power Over Ethernet Adapter 
          ทำหน้าที่แยกสาย UTP ที่มีสายทองแดงตีเกลียวอยู่ข้างใน 4 คู่โดยสายทองแดงสำหรับใช้สื่อสารข้อมูลใช้เพียง 2 คู่เท่านั้น ส่วนสายทองแดงอีก 2 คู่สามารถใช้อุปกรณ์ตัวนี้นำมาใช้เป็นเส้นทางสำหรับส่งแรงดันไฟฟ้าไปให้กับตัว Access Point ได้ 
          7. สายอากาศ (Antenna) 
          ทำหน้าที่เปลี่ยนข้อมูลในรูปของกระแสไฟฟ้าที่ส่งออกมาจากภาคส่งของอุปกรณ์ไวร์เลสแลนให้กลายเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจายออกไปในอากาศและสายอากาศยังทำหน้าที่รับเอาคลื่นที่อุปกรณ์ไวร์เลสแลนเครื่องอื่น ๆ ส่งออกมาแปลงกลับให้อยู่ในรูปของกระแสไฟฟ้าส่งให้ภาครับต่อไป
ประโยชน์ของระบบ Wireless LAN
          1. สะดวกในการเคลื่อนย้าย ติดตั้ง เนื่องจาก WLAN ไม่จำเป็นต้องมีสายเคเบิ้ลในการต่อพ่วง 
          2. ง่ายในการติดตั้ง เพราะไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล 
          3. ลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่ต้องจำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา ในระยะยาว 
          4. สามารถขยายเครือข่ายได้ไม่จำกัด
ข้อเสียของระบบ Wireless LAN
          1. มีอัตราการลดทอนสัญญาณสูง นั่นหมายความว่า “ ส่งสัญญาณได้ระยะสั้น ”
          2. มีสัญญาณรบกวนสูง
          3. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
          4. ยังมี หลายมาตรฐาน ตามผู้ผลิต แต่ละราย ทำให้มีปัญหาในการใช้งานร่วมกัน
          5. ราคาแพงกว่าระบบเครือข่ายแบบมีสาย 
          6. มีความเร็วไม่สูงมากนัก

ระบบเครือข่าย WAN

ระบบเครือข่าย WAN
แวน หรือ ข่ายงานบริเวณกว้าง (อังกฤษWide area network หรือ WAN) คือ ข่ายงานที่อยู่ห่างไกลกันมาก อาจจะอยู่ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานสาขาย่อยเข้ากับเครือข่ายของสำนักงานใหญ่ที่อยู่ห่างกันไกล อาจจะอยู่กันคนละที่หรือคนละเมืองกัน แต่ติดต่อกันด้วยระบบการสื่อสารทางไกลความเร็วสูง หรือโดยการใช้การส่งสัญญาณ ผ่านดาวเทียมเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อถึงกันได้ ข่ายงานแต่ละข่ายงานจะอยู่ห่างกันประมาณ 2 ไมล์ซึ่งไกลกว่า ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ แลน ที่อาจอยู่ภายในอาคารหรือบริเวณมหาวิทยาลัยเดียวกัน แวนไร้สาย (wireless wide area network) ข่ายงานบริเวณกว้างไร้สาย
ผู้รับผิดชอบทางด้านเครือข่ายขององค์การต้องขอใช้บริการต่างๆ เช่น บริการเชื่อมต่อผ่านทางเฟรมรีเลย์ (Frame Relay) คู่สายวงจรเช่า (Leased Line) หรือ ISDN ผู้ให้บริการในประเทศไทยก็มีอยู่หลายที่เหมือนกันที่สามารถให้บริการได้เช่น บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)ดาต้าเน็ดองค์การโทรศัพท์บริษัทคอมบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
เทคโนโลยีแวน แตกต่างจากแลนมาก แลนส่วนใหญ่จะมีมาตรฐานรองรับส่วนเทคโนโลยีแวน จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สร้างมาจากหลายบริษัทบางส่วนก็มีมาตรฐาน บางส่วนก็เป็นเทคโนโลยีเฉพาะของบริษัทนั้นๆ ก็แตกต่างกันไปทางด้านลักษณะ ด้านคุณภาพ ด้านประสิทธิภาพ และก็ราคาด้วย สิ่งที่คิดว่ายากที่สุดในการสร้างเครือข่ายแวน ก็คือการเลือกใช้เทคโนโลยีที่สามารถทำงานร่วมกันได้ และสามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจต่างๆ ในปัจจุบันได้
ข่ายงานวิทยุสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งเครื่องรับที่ใช้ในการรับและส่งข้อความไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การกระจายเสียงข่าว และแฟ้มข้อมูล ถึงแม้ในขณะนี้ข่ายงานลักษณะนี้จะมีการทำงานได้ในวงจรจำกัด เพียงในเนื้อที่เมืองหลวงก็ตาม แต่ในอนาคตเมื่อมีการนำระบบการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมเข้ามาใช้ ก็จะทำให้ข่ายงานบริเวณกว้างไร้สายนี้สามารถสื่อสารข้อมูลได้ครอบคลุมกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีแวน มีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้
  1. ระบบส่งสัญญาณ (Transmission Facility)
  2. อุปกรณ์เครือข่าย เช่น Switch, Router, CSU/DSU (Channel Dervice Unit/Data Service Unit)
  3. ระบบจัดการที่อยู่ (Internet work Addressing)
  4. โพรโทคอลจัดเส้นทาง (Routing Protocol)
  1.ระบบส่งสัญญาณ (Transmission Facility)  วงจรสวิตซ์ (Circuit Switching) นั้นมีหน้าที่ในการสื่อสารข้อมูล มันจะสร้างสถานีรับข้อมูลและสถานีส่งข้อมูลก่อน
จากนั้นมันก็จะทำการส่งข้อมูลออกไป พอมันสร้างทั้ง 2 สถานีเสร็จ มันก็จะสามารถใช้ส่งหรือรับข้อมูลได้แค่ 2 สถานีนี้เท่านั้นเช่น ระบบโทรศัพท์ ปกติโทรศัพท์ทุกหมายเลขจะมีสายสัญญาณเชื่อมมายังชุมสายโทรศัพท์ส่วนกลางมีสวิตซ์ติดตั้งอยู่ ระหว่างชุมสายโทรศัพท์นั้นมันจะมีการเชื่อมต่อกัน สามารถโทรไปเบอร์อื่นๆได้ เวลาที่เราใช้โทรศัพท์ จะมีเส้นทางเสั นทางสัญญาณจะถูกจองไว้สำหรับใช้ในการสนทนา แต่พอเวลาที่วางสายไปหรือเลิกใช้โทรศัพท์ เส้นทางนี้ก็จะถูกยกเลิกไปด้วย สัญญาณมันก็จะรอให้สายอื่นมาใช้งานต่อไป
    ระบบส่งสัญญาณแบบวงจรสวิตซ์ที่ใช้ในเครื่อข่าย Wan มีดังนี้  
  - สายคู่เช่า (Leased Line)
- โมเด็มและระบบโทรศัพท์ (Modem and Telephone System)
- ISDN (Integrated Services Digital Network)
- DSL (Digital Subscriber Line)
- เคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)
1.1สายคู่เช่า (Leased Line)
    สายคู่เช่าเป็นระบบส่งสัญญาณแบบวงจรสวิตซ์ที่ยืดหยุ่นและทนทาน ทีเราเรียกกันว่า สายคู่เช่า ก็เพราะว่าเป็นการเช่าสัญญาณจากบริษัทหรือองค์กรที่ให้บริการเช่น องค์การโทรศัพท์ เป็นต้น
สายคู่เช่านั้นทำหน้าที่ส่งสัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิตอลแทนอะนาล็อก มันสามารถช่วยลดทอนสัญญาณ และสามารถส่งสัญญาณได้หลายช่องสัญญาณในเวลาเดียวกันได้
  เทคนิคการมัลติเพล็กซ์สัญญาณ
         สายคู่เช่าถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถรวมการสื่อสารหลายๆ การสื่อสารให้สามารถแชร์สัญญาณหรือลิงก์เดียวกันได้ ดังนั้นจึงรวมเอาหลายๆสัญญาณมารวมกันเป็นสัญญาณเดียวกัน
แล้วก็ส่งไปที่ช่องสัญญาณ พอถึงปลายทางก็ทำการแยกสัญญาณออก เพื่อส่งต่อไปปลายทางการรวมสัญญาณเราเรียกว่า "การมัลติเพล็กซ์ (Multiplexing)" ส่วนการแยกสัญญาณเราเรียกว่า "การดีมัลติเพล็กซ์ (DeMultiplexing)"
  การทำมัลติเพล็กซ์ทำได้ 2 วิธี คือ 
     1) TDM (Time Division Multiplexing) คือการแชร์แบนด์วิธแบบช่องเวลา
           2) FDM (Frequency Division Multiplexing) คือการแชร์แบนวิธแบบช่องความถี่
Time Division Multiplexing 
    แบบนี้จะเป็นการแบ่งใช้แบนด์วิธของช่องสัญญาณออกเป็นช่วงเวลา แต่ละสถานีจะแชร์ช่องสัญญาณสลับกับการส่งข้อมูล โดยส่งได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ช่วงเวลานี้จะถูกแชร์กัน ขึ้นอยู่กับขั้นตอนวิธีที่เราใช้
         การแชร์แบนด์วิธแบบ TDM ก็มีโอเวอร์เฮด หรือการแบนด์วิธที่ต้องใช้ในการควบคุมการมัลติเพล็กซ์หรือที่ใช้ในการซิงโครไนเซชันสัญญาณ
การซิงโครไนเซชันก็คือ การทำให้เครื่องที่รับและเครื่องที่ส่งเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับเรื่องของเวลาในการรับส่งข้อมูล ถ้าไม่มีการซิงโครไนเซชันอาจจะทำให้ข้อมูลเดินทางไปถึงสถานีปลายทางเกิดข้อผิดพลาดได้
Frequency Division Multiplexing
    FDM เป็นเทคนิคในการแบ่งแบนด์วิธออกเป็นหลายช่องของความถี่ ซึ่งแต่ละช่องจะถูกกำหนดให้ใช้ในการรับส่งข้อมูลได้ เฉพาะสถานีใดสถานีหนึ่งเท่านั้น
         ส่วนใหญ่นิยมใช้การแชร์แบนด์วิธแบบ TDM มากกว่าแบบ FDM
มาตรฐานสัญญาณดิจิตอลที่นิยมใช้ก็มี
    1) Digital Signal Hierarchy (DSH 
    2) ITU's Digital Signal Hierarchy 
    3) SONET's Optical Carrier System 
    4) SONET's Synchronous Transport Signal Sysytem
1.2โมเด็มและระบบโทรศัพท์
   โมเด็มทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) ไปเป็นสัญญาณอนาล็อก (Analog) หรือสัญญาณเสียงแล้วส่งสัญญาณนี้ผ่านไปทางระบบโทรศัพท์ทำให้เราสามารถคุยกันทางโทรศัพท์แล้วได้ยินเสียง 
ฝั่งที่ทำหน้าที่รับก็จะมีโมเด็มที่คอยทำหน้าที่แปลงสัญญาณอะนาล็อก ไปเป็นสัญญาณดิจิตอลเหมือนเดิมเพื่อให้คอมพิเตอร์นั้นประมวลผลข้อมูลได้ คอมพิวเตอร์มันรู้สัญญาณดิจิตอลเป็น 0 กับ 1 เท่านั้น ส่วนระบบโทรศัพท์มันรู้จักสัญญาณอะนาล็อกเป็นเสียงเท่านั้น
    ความแตกต่างที่สำคัญของ Lan กับ Wan ก็คือระยะความห่างระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายการส่งข้อมูลไปบนสายโทรศัพท์ระยะที่มันส่งจะไกลกว่าการใช้ UTP ที่ใช้ในระบบ Lan
  ประเภทของการแปลงสัญญาณ (Modulation Type) 
   1) การแปลงความถี่ของคลื่น (Freguency Modulation)
   2) การแปลงกำลังของคลื่น (Amplitude Modulation)
   3) การแปลงเฟสของคลื่น (Phase Modulation)
มาตรฐานของโมเด็ม มาตรฐานโมเด็มบางส่วนของ ITU-T มีดังนี้ - V.22 เป็นมาตรฐานโมเด็มแบบดูเพล็กซ์ อัตราข้อมูลอยู๋ที่ 1,200 bps ใช้กับระบบโทรศัพท์สาธารณะและระบบสายคู่เช่า - V.22 bis ถูกปรับปรุงมาจาก V.22 สามารถส่งข้อมูลได้ 2,400 bps ใช้เทคนิคในการหาความถี่ - V.32 มีความเร็วที่ 9,600 bps โมเด็มประเภทนี้ใช้เทคนิคในการเข้ารหัสแบบ QAM ส่งข้อมูลได้ทีละ 4 บิต - v.32 bis ปรับปรุงมาจาก V.32 ส่งข้อมูลได้ถึง 14,000 bps ใช้เทคนิคในการเข้ารหัสแบบ QAM - V.90 สามารถรับข้อมูลได้ถึง 53,000 bps สามารถส่งข้อมูลได้ 33,600 bps
    ปัจจุบันโมเด็มมีความเร็วสูงสุดที่ 100.0-1,000.0 kbps ที่สามารถส่งได้ แต่ตอนนี้ได้มีการผลิตโมเด็มประเภทใหม่ขึ้นมาที่สามารถส่งข้อมูลได้ในระดับ Mbps เช่น ADSL ยังคงใช้สายโทรศัพท์เหมือนเดิม 

2.อุปกรณ์เครือข่าย (Channel Dervice Unit/Data Ser ce Unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทำหน้าที่ในการจัดการเกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลบนเครือข่าย ใช้สำหรับทวนสัญญาณ เพื่อให้การรับส่งข้อมูลที่อยู่ห่างไกลกันมีประสิทธิภาพที่ดี อุปกรณ์เครือข่ายก็เช่น Hub, switch , Router CSU/DSU เป็นต้น--Tangmo1728 14:17, 23 พฤศจิกายน 2007 (ICT)